วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559
1. สุดยอดผ้าไหม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเป็นมา
บ้านพันนานี้มีการทอผ้าสืบต่อกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษและมีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาว่า วันหนึ่งมียายแก่แปลกหน้าคนหนึ่งมาขอยืมฟืมของชาวบ้าน เพื่อไปทอผ้า หนึ่งเดือนให้หลังยายแก่คนนั้นนำฟืมมาคืนปรากฏว่ามีลายผ้าติดอยู่ที่ฟืมด้วย ครั้งสุดท้ายที่มายืมยายคนนั้นขอพังค้างคืนด้วย ตกดึกเจ้าของบ้านตื่นขึ้นมา แล้วพบว่าร่างของยายกลายเป็นงูใหญ่ จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามียายแก่มายืมฟืมอีกเลยชาวบ้านได้นำลายผ้าที่ค้างอยู่กับฟืมไปทอต่อ เรียกลายดังกล่าวว่า “ลายซิ่นฝ้าย” จากนั้นมีการประยุกต์และดัดแปลงลายซิ่นฝ้ายนั้นเรื่อยมาแล้วตั้งชื่อลายผ้าว่า “ลายผ้าแม่นางคำ” เพราะเชื่อกันว่างูใหญ่นั้นน่าจะเป็นแม่นางคำผู้สิงสถิตอยู่ ณ ศาลใหญ่ประจำหมู่บ้านนั่นเอง
จุดเด่น เป็นผ้าฝ้ายแท้ ทอด้วยมือ สีสันและลวดลายสวยงามแปลกตา
สถานที่ติดต่อ นางคำพูล สุราชวงศ์ บ้านพันนา หมู่ที่ 1 ต.พันนา อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 47240
2. สุดยอดร่มด้วยกระดาษ ( ร่มบ่อสร้าง ) ภาคเหนือ
ตำนานร่มบ่อสร้าง
ร่มบ่อสร้างตามตำนานเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระครูอินถา ซึ่งประจำอยู่วัดบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ไดธุดงค์ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ได้มีโอกาสเห็นวิถีชีวิตและการทำร่มของชาวบ้าน ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อย้ายมาจากมณฑลยูนานแคว้นสิบสองปันนาประเทศจีน และตั้งถิ่นฐานอยู่ตามบริเวณนั้นยังคงสืบทอดการทำร่มอยู่ พระครูบาสนใจวัฒนธรรมการทำร่มนี้เป็นอย่างมากจึงศึกษาอย่างละเอียด และนำกลับมาเผยแพร่ยังหมู่บ้านบ่อสร้าง โดยแยกชิ้นส่วนการทำร่มให้กับหมู่บ้านใกล้เคียงได้หัดทำ และนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาประกอบที่หมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ลักษณะของร่มกระดาษที่มีคุณภาพดี
1. มีรูปทรงสวยงาม
2. โครงร่มและส่วนประกอบของร่มจะต้องมีความเรียบร้อยแข็งแรง
3. กระดาษที่ใช้ปิดร่มมีความหนาพอสมควร
4. สีและน้ำมันที่ใช้ทาไม่ตกและหลุดลอกได้ง่าย
5. เวลาใช้สามารถกางขึ้นลงได้สะดวก
การทำร่มเพื่อให้มีคุณภาพดี
1. คัดเลือกวัตถุดิบเอาแต่ชนิดที่มีคุณภาพดี
2. กรรมวิธีในการผลิต นับว่ามีความมีสำคัญมากเพราะร่มจะมีคุณภาพดีมีความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตทั้งสิ้นการประกอบร่มทุกขั้นตอนจะต้องทำ ด้วยความประณีตเสมอ
3. การเก็บรักษาร่ม และส่วนประกอบของร่มจะต้องมีการป้องกันตัวแมลงต่างๆ มิให้มาทำลายร่มได้ส่วนประกอบของร่มที่เป็นไม้ไผ่ควรจะได้รับการแช่น้ำยาเพื่อป้องกันแมลงเสียก่อน
ขนาดของร่มกระดาษสาแบ่งออกได้เป็น 5ขนาด
1. ร่มขนาด 44 นิ้ว
2. ร่มขนาด 20 นิ้ว
3. ร่มขนาด 17 นิ้ว
4. ร่มขนาด 14 นิ้ว
5. ร่มขนาด 10 นิ้ว
วิธีการทำร่มกระดาษสาจากเปลือกของต้นสา
นำเปลือกสาที่ได้มาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนำไปต้มกับขี้เถ้าหรือโซดาไฟ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนเห็นว่าเปื่อยดีแล้วจึงนำออกมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาทุบให้ละเอียดจนยุ่ย จึงนำไปแช่ในอ่างน้ำซึ่งก่อด้วยซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 คูณ 3 เมตรและลึกประมาณ1/2 เมตรบรรจุน้ำ 3/4 ของถัง ใช้ไม้คนให้ทั่วแล้วใช้ตะแกรงขนาดตามที่ต้องการซึ่งส่วนมากจะมีขนาด 40x60 เซนติเมตร ตักเยื่อเปลือกไม้ในน้ำขึ้นมาแล้วนำออกมาตากให้แห้ง เมื่อเนื้อเยื่อของเปลือกสาที่ตากไว้แห้งดีแล้วจึงค่อยลอกออกมาก็จะได้กระดาษสาเป็นแผ่นเรียกกันว่ากระดาษสา ซึ่งสามารถนำไปใช้หุ้มร่มต่อไป
วิธีทำโครงร่ม
โครงร่มประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หัว ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ตีนเป็น , ไม้ส้มเห็ด , ไม้ตุ้มคำ และไม้แก
2. ตุ้ม ทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ตีนเป็น , ไม้ส้มเห็ด , ไม้ตุ้มคำ และไม้แก
3. ค้ำ ทำจากไม้ไผ่ตง เพราะเหนียวและทนทาน
4. ซี่กลอน ทำจากไม้ไผ่ตง เพราะเหนียวและทนทาน
5. คันถือ ทำจากไม้ไผ่เล่มเล็กหรือไม้เนื้ออ่อนก็ได้
6. ม้า (สลัก) ทำจากสำหรับเล่มเล็กทำด้วยสปริงเหล็ก ส่วนร่มใหญ่ทำด้วยไม้ไผ่เหลา
7. ปลอกลาน ทำจาก ใบลาน ทำหน้าที่เป็นตัวเคลื่อนขึ้น-ลงเวลากางหรือหุบร่ม
วิธีหุ้มร่ม
ร่มกระดาษสาหรือร่มฝ้ายคลุมร่มด้วยกระดาษสาหรือผ้าฝ้ายบางโดยใช้แป้งเปียกที่ผสมกับยางของผลตะโก ซึ่งได้จากการทุบตะโกให้ละเอียดแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 3 เดือนจึงนำออกมาใช้ น้ำตะโกนี้จะช่วยทำให้ร่มกันฝนได้และทั้งยังช่วยทำให้ร่มตึงและช่วยให้แป้งเปียกเหนียวยึดวัสดุที่ใช้คลุมร่มเข้ากับโครงร่มได้สนิทดียิ่งขึ้น ในขั้นแรกทาแป้งเปียกที่ผสมน้ำยางผลตะโก 2 ครั้ง ตากร่มให้แห้งอีกครั้งหนึ่งจึงนำไปทาสี การทาสีร่มนี้ทำโดยการใช้ผ้าชุบสีกลึงบนร่มที่ต้องการสมัยก่อนมีเพียง 2 สีเท่านั้นที่ทาร่ม คือ สีแดงและสีดำ สีแดงได้จากการนำสีของดินแดงที่มีอยู่บนภูเขา ส่วนสีดำนั้นได้มาจากเขม่าไฟผสมน้ำมันยาง
ร่มแพรกระดาษสา หรือ ร่มผ้าไหม
ใช้กาวลาเท็กซ์ทาลงบนโครงร่มและใช้ผ้าแพร กระดาษสา หรือผ้าไหม รีดให้เรียบด้วยมือตัดให้เป็นรูปร่างตามโครงร่มที่คลุมเป็นอันใช้ได้
การเขียนลวดลายลงบนร่ม
ในสมัยก่อนไม่ได้มีการเขียนลวดลายลงบนร่มเหมือนในปัจจุบันเพียงใช้ร่มสีพื้นๆ 2 สี ดังได้กล่าวมาแล้ว การเขียนลาย
ลงบนร่มพึ่งมีขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง
วัตถุดิบและส่วนประกอบของร่ม ร่มกระดาษใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบ คือ
1. หัวร่ม ตุ้มร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่นไม้โมกมัน ไม้สมเห็ด ไม้ซ้อ ไม้ตะแบก และไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่นๆ เมื่อไม้แห้งแล้วไม่หดตัวมาก การที่เลือกเอาไม้เนื้ออ่อนเป็นหัวร่ม ตุ้มร่มนั้นเพราะว่าไม้เนื้ออ่อน สะดวกแก่การกลึงและผ่าร่องซี่
2. ซี่ร่ม ทำด้วยไม่ไผ่ ไม้ไผ่ที่จะนำมาทำเป็นซี่ร่มต้องมีลักษณะปล้องของไม้ไผ่จะต้องยาวถึง 1ฟุตขึ้นไป เนื้อไม้ไม่หนาน้อยกว่า 1 นิ้ว และเป็นไม้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ไม้อ่อนใช้ไม่ได้ เพราะไม้อ่อนเวลาแห้งแล้วไม้หดตัวมาก และตัวมอดยังชอบกินอีกด้วย
3. กระดาษปิดร่ม ใช้กระดาษที่มีเนื้อนิ่มไม่แข็งกระด้าง และมีความหนาพอสมควร แต่เท่านี้นิยมกันมากได้แก่กระดาษสา และกระดาษห่อของสีน้ำตาล
4. น้ำมันทาร่ม ใช้ทาด้วยนำมันมะหมื่อ หรือนำมันทัง
5. สีทาร่ม ใช้ทาด้วยสีน้ำมัน
6. น้ำยางปิดร่ม ใช้ปิดด้วนน้ำยางตะโก หรือ น้ำยางมะค่า
7. ด้าย ที่ใช้ในการร้อยประกอบส่วนต่างๆ ของร่มใช้ด้ายดิบหรือด้ายมันนำมากรอเป็นเส้นและตีควบเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ
8. คันร่ม ใช้ไม้เนื้ออ่อนกลึงหรือทำด้วยไม้ไผ่ถ้าเป็นไม้ไผ่ต้องใช้ปลายไม้ขนาดเล็กหรือต้นไผ่ขนาดเล็กก็ได้ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 7/8 นิ้ว และต้องมีรูข้างในด้วยเพื่อสะดวกในการติดสปริงดันร่ม
9. หวายสำหรับพันด้ามร่ม ถ้าคันร่มทำด้วยไม้ไผ่ตรงส่วนที่เป็นด้ามถือ จะต้องพันด้วยเส้นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก ( หวายเลียด ) หรือจะใช้ เส้นพลาสติกพันแทนก็ได้
10. ปลอกสวมหัวร่ม ใช้ใบลาน ใบตาล หรือกระดาษหนา ที่มีความหนาใกล้เคียงกันก็ได้
11. น้ำมันสำหรับผสมกับสี ใช้น้ำมันก๊าด
12. ห่วงร่ม ทำจากเส้นตอกไม้ไผ่ ขดเป็นวงกลมและพันด้วยกระดาษสาให้รอบชุบน้ำยางตะโกและตากแดดให้แห้ง
13. โลหะครอบหัวร่ม ทำด้วยแผ่นปั๊มหรือพลาสติกปั๊มก็ได้
วิธีทำร่มกระดาษ
1. การทำหัวร่ม ตุ้มร่ม นำไม้สำหรับทำหัวร่ม และ ตุ้มร่ม ขนาดโตวัดเส้นผ่า ศูนย์กลางขนาด 2-2.5 นิ้วนำเอามาตัดท่อนๆความเท่ากับขนาดของหัวร่มและตุ่มร่มที่ต้องการแล้วเจาะรูตรงกลางขนาดพอที่จะใส่คันร่มชนิดนั้นๆ ได้แล้วจึงเอาไปกลึงเป็นหัวร่มรือตุ่มร่มตามแบบที่ได้กำหนดไว้
2. การทำซี่ร่ม หลังจากได้ไม้ไผ่มาแล้งก็นำเอามาตัดออกเป็นท่อนๆถ้าเป็นไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวก็ตัดระหว่างข้อ แต่ถ้าเป็นไม้ปล้องสั้นก็ตัดให้ข้อไม้อยู่ตรงกลางความยาวของท่อนไม้ที่ตัดเท่ากับขนาดของร่มที่จะทำ เช่น ทำร่มขนาด 20นิ้วก็ตัดไม้ไผ่ยาว 20นิ้วเป็นต้นเมื่อตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวแล้วก็ใช้มีดขูดผิวไม้ออกให้หมดแล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรูไว้โดยการใช้ตะปูตอกบนไม้ ขอให้ปลายตะปูโผล่ออกมานิดหนึ่งแล้วใช้ไม้ขอขีดรอบปล้องไม้ตรงกับระยะที่ต้องการเจาะรูแล้วจึงผ่าไม้ออกเป็น 4 ชิ้น แต่ละชิ้นขนาดเท่ากันใช้มีดตรงท้องตามระยะที่ได้กะไว้ให้เสมอกันทุกชิ้น ให้ทางปลายซี่เรียว และใช้มีดจักเป็นซี่ๆตรงหัวไม้ ความหนาแต่ละซี่ประมาณ 1/8 นิ้ว แล้วใช้มือฉีกออกเป็นซี่ๆ ถ้าฉีกไม่ออกก็ใช้มีดผ่าออกไปตรงๆ แล้วเหลาทั้งสองข้างให้ เรียบและปาดตรงหัวซี่ทั้ง 2 ให้บางพอดีที่จะใส่เข้าร่องหัวร่มได้แล้วซี่ตรงท้องนิดนึงเพื่อให้มุมมนแล้วเหลาตรงท้องซึ่งให้ ปลายซี่ร่มเรียวเท่ากันทุกๆซี่ ใช้มีดปลายแหลมแทงลงไปตรงรอยปาดท้องซี่ ให้ปลายมีดทะลุออกด้านหลังซึ่งตรงกลางแล้ว ผ่าตรงออกไปตามยาวประมาณ 2 นิ้ว เพื่อให้ปลายซี่สั้นสอดเข้าไปเวลาร้อยคือ ประติดกับซี่สั้น
ส่วนการทำซี่ร่มสั้นนั้น ตัดไม้ยาวตามขนาดที่ต้องการแล้วเกลาเอาผิวไม้ออก แล้วทำเครื่องหมายสำหรับเจาะรู แล้ว จักเป็นซี่ๆ เหลาสองข้างให้เรียบร้อย ปลายซึ่งข้างหนึ่งปาดท้องซี่ให้เป็นมุมแล้วเหลา 2 ข้าง ให้บางที่จะสอดเข้ารองตุ่มร่มได้ ส่วนอีกข้างหนึ่งเหลาปลายให้มน และเหลาตรงปลาย 2 ข้างให้บางพอสมควร
3. การเจาะรูซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว ใช้เหล็กแหลมชนิดปลายเป็นสามเหลี่ยมเจาะโดยการหมุนไปหมุนมาหรือ จะใช้เหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนแล้วเจาะรูก็ได้ (ถ้าไม่มีเครื่องเจาะ) แต่ถ้ามีเครื่องเจาะซี่ร่มโดยเฉพาะ ก็ใช้เครื่องเจาะเพราะจะได้เร็ว
4. การมัดหัวร่มและตุ่มร่มนำเอาซี่ร่มยาวและซี่ร่มสั้นที่เจาะ
รูแล้วร้อยติดกันเรียงเป็นตับโดยร้อยเอาทางหลัง ซี่ขึ้นข้างบน
ทุกซี่ แล้วเอาหัวร่มที่ผ่าร่องซี่แล้วมาปาดซี่ออกเสีย 1 ช่อง เพื่อ
สำหรับจะได้ไว้ผูกปมเชือก เอาซี่ร่มที่ร้อยแล้วใส่ลงไป ในหัวร่ม
ช่องละซี่ แล้วดึงเชือกให้ตึงแล้วใส่ต่อไปอีกจนครบทุกช่อง
แล้วดึงปลายเชือกทั้ง 2 ข้างให้ตึง เอาปลายเชือกผูกให้แน่น
แล้วตัดเชือกที่ผูกออกให้เหลือปลายเชือกไว้ประมาณข้างละ 1
นิ้ว การมัดหัวร่มและตุ้มร่มทำด้วยวิธีเดียวกัน
3. สุดยอดผ้าบาติก ภาคใต้
ขั้นตอนการทำผ้าบาติก
1. ออกแบบลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาเมจิกสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวดลายชัดเจน
2. นำเทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียนแล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้ผ้าหลุดรนได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญ กุญแจ กดลงบนขอบเฟรมและถูเบา ๆ ทีละด้านทั้ง 4 ด้านของกรอบเฟรม
3. นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึงเพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอ 2 Bขึ้นไป
4. ใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะโดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้งแล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้าดูก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการ ซึ่งเส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน 2 – 3 ม.ม.แล้วจึงเริ่มเขียนจริงโดยเริ่มเขียนเป็นสี่เหลี่ยมขอบกรอบรอบนอกก่อนเพื่อกันสีลามไปที่กรอบไม้ ถึงจะเขียนตามลวดลายที่ลอกไว้ลากช้าๆ ระวังอย่าให้เส้นเทียนขาดตอนเพราะจะทำให้เวลาที่ลงสีสี จะรั่วเข้าหากัน สีจะเน่าไม่สวยและจำเป็นจะต้องใช้กระดาษทิชชูซับน้ำเทียนบริเวณรอบนอกตัวปากกาเขียนเทียนทุกครั้งเพื่อมิให้เทียนหยดลงบนชิ้นงาน
5. ลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อเกิดเป็นระดับ ซึ่งวิธีระบายสีอ่อนก่อนแล้วใช้สีกลางและเน้นด้วยสีเข้มจะเกิดเป็นแสงเงาสวยงาม ถ้าต้องการให้มีความพลิ้วหวานก็ให้ใช้น้ำเปล่าระบายเฉพาะส่วนที่ต้องการให้สีอ่อนแล้วแต้มสีเข้มเกลี่ยสีเข้าหากันจนทำให้เกิดแสงเงามีน้ำหนักอ่อน - เข้ม และดูมีความชัดลึก สวยงามแล้วรอจนสีแห้งสนิท
6. นำผ้าที่ระบายสีและแห้งสนิทเคลือบโซเดียมซิลิเกตเพื่อเป็นการกันสีตกมี 2 วิธี คือ การเคลือบโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำยา โดยกดจมให้น้ำยาเปียกทั่วทั้งผืน แล้วยกมาพาดขึ้นปากถังเพื่อให้น้ำยาหยดกลับลงไปในถังนำกลับไปใช้ได้อีก และอีกวิธี คือ ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มน้ำยาแล้วนำมาทาลงบนผ้าที่ขึงอยู่บนเฟรมให้ทั่วทั้งผืน วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะกันสีตกได้ดีและชิ้นงานเสียหายน้อย หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีก่อนนำไปล้าง
7. นำผ้ามาล้างน้ำยาเคลือบเพื่อให้เมือกของโซเดียมซิลิเกตหลุดออกไปในภาชนะที่มีขนาดโตสามารถใส่น้ำได้ในปริมาณที่มากๆ เพราะจะมีสีส่วนเกินหลุดออกมาและจะต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา หรือเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จนกว่าน้ำที่ซักจะใสและหมดลื่นมือจึงหยุดขั้นตอนการซัก คลี่ออกผึ่งอย่าให้เป็นก้อน เพราะสีจะตกใส่กันซึ่งควรล้างทีละผืนจนสะอาดเพื่อให้สีที่หลุดออกไปติดกลับมาใหม่
8. นำผ้าไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมผงซักฟอกหรือสบู่ซันไลต์ ในประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลอกเอาเส้นเทียนออกจากตัวผ้า โดยใช้มือจับปลายผ้าแล้วจุ่มผ้าลงในน้ำเดือดให้ทั่วทั้งผืน แล้วค่อยๆยกขึ้นลงและผึ่งผ้าออกจนเทียนหลุดออก สลับอีกด้านจุ่มลงทำเหมือนเดิม สังเกตว่าเส้นเทียนหลุดออกหมดหรือยัง ห้ามต้มแช่ไว้นานเป็นอันขาดจะทำให้ผ้าเสียได้
9. นำผ้าใส่ลงในถังซักที่มีน้ำเต็มซักผ้าโดยการจับปลายจุ่มลงเหมือนการลอกเอาเทียนออกเพื่อล้างจนเศษเทียนหลุดจนหมดแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นสีเข้มควรเช็คดูว่ามีสีตกอยู่หรือไม่ ถ้าตกให้เปลี่ยนน้ำในกะละมังใหม่จนมีส่วนเกินตกจนหมด
10. บิดน้ำออกพอหมาดๆด้วยมือ หรือใช้เครื่องซักผ้าปั่นแล้วนำไปตาก โดยผึ่งออกทั้งผืน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งวางซ้อนกันและใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้ ส่วนการตากควรตากไว้ในที่ร่มหรือผึ่งแดด เมื่อแห้งแล้วให้รีบเก็บอย่างปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้สีซีดได้ และนำไปรีด ตัดเย็บตามต้องการ
4. สุดยอดเครื่องเบญจรงค์ ภาคกลาง
ประวัติความเป็นมา
เครื่องเบญจรงค์มีสืบทอดทั้งโบราณกาลตั้งแต่จีนมีสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย ไม่ว่าจะเป็นสมัยสุโขทัย (มีชามสังคโลก) และสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และสืบทอดมายังยุครัตนโกสินทร์
เครื่องเบญจรงค์เมื่อก่อนผลิตมากที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม แต่วิชาความรู้ได้เผยแพร่มาสู่ นายสุขสันต์ ใจซื่อตรง ซึ่งเป็นคนสนิท ของอาจารย์ประทีป โหมดสกุล จึงได้ชักชวน อาจารย์ประทีป โมหดสกุลและครอบครัวเรียนรู้เรื่องการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มสามเมืองเบญจรงค์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2548 มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน โดยเล็งเห็นว่าการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทยการเขียนเครื่อง
เบญจรงค์เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังมิให้สูญหายไป จึงนำวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถมาฝึกสอนให้กับสมาชิก โดยมีเทศบาลตำบลสามเมือง เป็นผู้สนับสนุน มีการเรียนการสอนในชุมชนและเผยแพร่ในโรงเรียนวัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา) โดยมี อาจารย์มณี โหมดสกุล เป็นผู้สอนคู่กับ อาจารย์ประทีป โหมดสกุล ซึ่งเครื่องเบญจรงค์มีหลายลวดลาย ทั้งใช้ความละเอียดอ่อน ความประณีต ความอดทนต่อชิ้นงาน เพื่อฝึกสมาธิตนเองจึงได้ผลงานออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม จึงผ่านมาตรฐานและได้รับรองคุณภาพสินค้าและพัฒนาขึ้นตามลำดับ ต่อมาจึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ จดทะเบียนเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. ภาชนะเซรามิค
2. สีเซรามิค
3. น้ำทองคำ 1.2 %
4. น้ำยาเคลือบ
5. พู่กัน
6. ปากกาหมึกซึม
7. ปากกาน้ำทอ
8. แป้นหมุน
9. เตาอบ
10. ไม้จิ้มฟัน
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นที่ 1 ฝึกเขียนลายในกระดาษแบบฝึกจนเกิดความชำนาญ
ขั้นที่ 2 ฝึกเขียนด้วยปากกาหมึกซึมบนเซรามิคขาว
ขั้นที่ 3 เขียนลายลงเซรามิคขาวด้วยปากกาน้ำทอง
ขั้นที่ 4 ลงสีเบญจรงค์บนลายที่เขียน
เขียนปากกาน้ำทองเสร็จ ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้ว จะนำมาลงสีตามลายที่เขียนทองไว้จนครบ การลงสีต้องไม่หนาจนเกินไป เพราะจะทำให้สีหลุดง่าย และต้องไม่บางจนเกินไป เพราะจะทำให้สีจางได้ง่าย ความเร็วในการทำงาน การลงสีนี้ อาจจำเป็นต้องใช้ช่างฝีมือหลายคน หากชิ้นงานมีรายละเอียดมากๆ ต้องมีการจัดแบ่งส่วนในการลงสีกัน ต่อมาจะทำการเก็บรายละเอียดต่างๆ และวนทองตามส่วนต่างๆ อีกครั้ง เช่น หูแก้วขอบโถ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 การอบเครื่องเบญจรงค์
นำเข้าเตาเผา โดยเผาในอุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเผาประมาณ 8ชั่วโมง เมื่อเตาเย็น จึงนำเครื่องเบญจรงค์ออกมา และวางรอไว้จนอุณหภูมิเย็นลงในอุณหภูมิ
ขั้นที่ 6 การบรรจุและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มสามเมืองเบญจรงค์
ที่อยู่ 40/108 3 * * ตำบลสามเมือง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา *
แหล่งที่มา
https://kung44.wordpress.comhttp://www.openbase.in.th/node/5694
http://www.otoptoday.com/wisdom/2684
http://www.thaigoodview.com/node/147435
http://cmrulocalinformaiton.blogspot.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)